|
ช้าพลู |
ชื่อท้องถิ่น ผักปูนา , พลูลิง , เย่เท้ย , ผักพลูนก ( ภาคเหนือ )
ช้าพลู (ภาคกลาง ) นมวา ( ภาคใต้ )
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ piper sarmentosum roxb .
ชื่อวงศ์ piperaceae
ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ พืชล้มลุกที่มีด้วยกัน ๒ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ต้นเตี้ยสูงประมาณ ๕๐ – ๖๐ ซม. ลำต้นเป็นข้อ ๆ มีไหลงอกออกเป็นต้นใหม่ และอีกชนิดหนึ่งเป็นเถาลักษณะลำต้นทอดคลานไปตามดิน ลำต้นมีสีเขียวทั้งสองชนิด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ลักษณะใบรูปหัวใจ ผิวใบไม่เรียบมีกลิ่นเฉพาะตัว ปลายใบแหลม โดยทั่วไปแล้วคล้ายใบพลู ออกดอกเป็นช่อที่ยอด เป็นรูปทรงกระบอก ปลายมน คล้ายดอกดีปลี
ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ลำต้น ดอก ใบ
วิธีใช้ ช่วยขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ โดยใช้รากชะพลูสด ๑๐ – ๑๕ กรัม นำมาโขลกให้ละเอียดผสมน้ำพอประมาณ แล้วกรองดื่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น