|
อบเชย |
ชื่อท้องถิ่น อบเชย (ภาคกลาง ) จวงดง ( หนองคาย ) ขนุนมะแวง
เชียกใหญ่ , เฉียด , ฝนแสนห่า , มหาปราบ ( ใต้ )
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ cinnamomum bejolghota ( buch. – ham . )
sweet
ชื่อวงศ์ lauraceae
ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๔ – ๕ เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล มีรอยด่างสีขาว ลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดบ้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปใบรี ปลายใบแหลม โคนใบมน เส้นใบจะแตกออกจากโคนใบ ๓ เส้น หลังใบเรียบมัน ใบอ่อนและยอดอ่อนมีสีแดง ออกดอกเป็นช่อ ตามบริเวณง่ามใบและที่ปลายยอดสีเหลืองอ่อน
ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกต้น รากและใบ
วิธีใช้ ขับลมในลำไส้ โดยใช้เปลือกต้นที่มีกลิ่นหอม สามารถกลั่นน้ำมัน cinnamon มีสาร cinnamic aldehyde , eugenol ช่วยขับลมในท้อง แก้ปวดท้อง ฆ่าเชื้อโรคได้ หรือบดอบเชยให้เป็นผงละเอียดใช้ปริมาณ ๑ กรัม ชงน้ำร้อนดื่มครั้งละ ๑ แก้ว หรือ ๒๕๐ ซีซี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น