|
กระเพรา |
ชื่อท้องถิ่น ห่อกวอซู , อิ่มคิมหลำ , ก้อมก้อ , ( ภาคเหนือ )
กระเพรา ( ภาคกลาง ) อีตู่ไทย ( ภาคอีสาน )
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ocimum tenuiflorum l .
ชื่อวงศ์ labiatae
ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม โคนใบแข็ง ยอดเป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนปกคลุมไปทั่ว แตกกิ่งก้านสาขามากและมีกลิ่นหอมแรง กระเพราที่ปลูกกันอยู่มี ๒ ชนิด คือ กระเพราขาวและกระเพราแดง ใบเป็นใบเดี่ยวแตกใบออกตรงข้ามในแต่ละข้อของลำต้นและกิ่ง ลักษณะใบรูปรีหรือรีค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น ออกดอกเป็นช่อแบบฉัตร ออกช่อที่ยอดหรือปลายกิ่ง
ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก รากและลำต้น ใบ ดอก เมล็ด
วิธีใช้ เป็นยาขับลมในเด็กอ่อน โดยใช้ใบสดใส่เกลือเล็กน้อยบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งหยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด ๒ – ๓ หยดประมาณ ๓ วัน จะช่วยผายลมและถ่ายขี้เถ้า สำหรับผู้ใหญ่ใช้ใบกระเพราแห้งหรือบดเป็นผงชงน้ำดื่มเป็นยาขับลม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น