|
เนียมหูเสือ |
ชื่อท้องถิ่น หอมด่วนหลวง , หอมด่วนหูเสือ (ภาคเหนือ )
เนียมหูเสือ (ภาคกลาง )
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ plectranthus amboinicus (lour. ) spreng.
ชื่อวงศ์ labiatae
ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ค่อนข้างอวบน้ำ สูงประมาณ ๐.๓ – ๑.๐ เมตร ลำต้นและกิ่งค่อนข้างกลมมีสีแดงและเขียว ต้นอ่อนมีขนหนาแน่น ต้นแก่ขนจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปไข่กว้างค่อนข้างกลม หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ปลายใบกลมมนหรือแหลม โคนใบกลมหรือตัด เนื้อใบหนา ใบมีกลิ่น ก้านใบยาว มีขน ออกดอกเป็นช่อ ดอกติดหนาแน่นเป็นวง ๆ รอบแกนกลาง เป็นระยะๆ มีขน ใบประดับรูปไข่กว้าง ปลายแหลม ก้านสั้น
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ
วิธีใช้ แก้ไข้ แก้ไอ รักษาโรคหวัด โดยใช้ใบสด ๑๐ – ๑๕ กรัม ต้มในน้ำ ๕๐๐ ซีซี เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง แล้วกรองเอาน้ำดื่ม เช้า – เย็น หรือ ใช้ใบสดล้างให้สะอาด รับประทานเป็นผักกับอาหารครั้งละ ๓ – ๕ ใบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น