วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สารภี

สารภี
ชื่อท้องถิ่น สารภีแนน (เชียงใหม่) ทรพี (ชลบุรี) สารภี (ทั่วไป ) สร้อยพี (ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ mamnea siamensis kosterm. ชื่อวงศ์ guttiferae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ ๑๐-๑๕ เมตร เปลือกลำต้นสีเทาอมน้ำตาล มีรอยแตกเป็นสะเก็ด แตกกิ่งจำนวนมาก กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม เรือนยอดรูปไข่ หนาทึบ ออกดอกเป็นช่อหรือเป็นกระจุก ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก ผลสุก วิธีใช้ บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน โดยใช้ดอกสารภีแห้ง ซึ่งจัดอยู่ในตำรายาไทยประเภท เกสรทั้ง ๕ นำมาปรุงยาเป็นยาหอมใช้สูดดม หรือใช้ดอกแห้ง ๓-๔ ดอก ชงเป็นชาดื่ม หรืออาจจะรับประทานผลสุกก็ได้

รำเพย

รำเพย
ชื่อท้องถิ่น แซน่าวา , แซะศาลา (ภาคเหนือ ) รำพน , รำเพย (ภาคกลาง ) กะทอก , บานบุรี , ยี่โถฝรั่ง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ thevetia peruviana (pers ) k. schum. ชื่อวงศ์ apccynaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๒-๓ เมตร ไม่ผลัดใบ บางครั้งมีลักษณะเป็นพุ่ม เรือนยอดทรงกลม โปร่ง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาวเป็นพิษ ส่วนที่ใช้เป็นยา ยาง เมล็ด วิธีใช้ บำรุงหัวใจ ในเมล็ดมีสารกระตุ้นหัวใจ thevetin ใช้เมล็ดจากผลสุกสกัด glucoside thevetin ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ทางปาก และยาฉีด เมล็ดบด ใช้เป็นยาฆ่าแมลง

มะลิลา

มะลิลา
ชื่อท้องถิ่น ข้าวแตก , เตียมูน ,มะลิขี้ไก่ , มะลิป้อม (ภาคเหนือ ) มะลิลา , มะลิซ้อน (ทั่วไป ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ jasminum sambac (L) aiton ชื่อวงศ์ oleaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถา กึ่งเลื้อย แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้น ลักษณะทรงพุ่ม สูงประมาณ ๕ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ไปตามก้านลำต้น ลักษณะใบรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ลักษณะของดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกไม่ซ้อน ดอกซ้อนเรียกว่า “มะลิซ้อน” และดอกไม่ซ้อนเรียกว่า “มะลิลา” ดอกมีสีขาว กลิ่นหอมแรง ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เถา ใบสด ดอก วิธีใช้ บำรุงหัวใจ แก้วิงเวียน โดยใช้ดอกที่ตากแดดให้สนิทปรุงเป็นยาหอม ซึ่งเป็น ๑ ในเกสรทั้ง ๕ ใช้สูดดม หรือใช้ดอกแห้ง ๓-๕ ดอก ชงเป็นน้ำชาดื่ม ๑-๒ เวลา

บัวหลวง

บัวหลวง
ชื่อท้องถิ่น บัว , บัวหลวง (ทั่วไป ) สัตตบงกช , สัตตบุษย์ อุบล ( ภาคกลาง ) โช้ค (เขมร , บุรีรัมย์ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ nelumbo nucifera gaertn . ชื่อวงศ์ nelumbonaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแผ่นใบชูเหนือน้ำ ลักษณะใบรูปเกือบกลม โคนเว้าตื้น ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านกลมแข็ง มีตุ่มเล็กๆอยู่ทั่วไป ภายในมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะเห็นเป็นสายใย ออกดอกเดี่ยวชูเหนือน้ำ ดอกมีสีขาว ชมพู กลิ่นหอม ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เหง้าหัว ฝักบัว เมล็ด ดีบัวหรือต้น อ่อนในเมล็ด ใบ วิธีใช้ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง โดยใช้ดอกและเกสรนำไปตากแดดให้แห้ง ประมาณ ๕-๑๐ กรัม นำไปชงเป็นน้ำชาดื่ม หรือนำไปปรุงเป็นยาหอมใช้สูดดมก็ได้ ช่วยให้เจริญอาหารโดยใช้เมล็ดสด รับประทานเป็นอาหาร

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญ
ชื่อท้องถิ่น กุหลาบออน (เงี้ยว , แม่ฮ่องสอน) กุหลาบมอญ ( ภาคกลาง ) ยี่สุ่น (กรุงเทพฯ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ rosa damascene mill ชื่อวงศ์ rosaceae ลักษณะทั่วไป ทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑-๒เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม ออกดอกสีชมพูอ่อน ชมพูเข้มหรือสีแดง กลิ่นหอมแรง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย กลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น รูปเกือบกลม เกสรตัวผู้และตัวเมียมีจำนวนมาก ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก วิธีใช้ ยาบำรุงหัวใจ บรรเทาอาการอ่อนเพลีย คลายเครียด โดยใช้น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากดอกใช้สูดดม หรือ ใช้น้ำมันกุหลาบ ๑-๒ หยด ผสมในน้ำร้อนแช่อาบ จะทำให้นอนหลับสบายดี

กระดังงาไทย

กระดังงาไทย
ชื่อท้องถิ่น สะบันงา , สะบันงาต้น (ภาคเหนือ ) กระดังงาไทย , กระดังงาใบใหญ่ (ภาคกลาง ) กระดังงา (ตรัง , ยะลา ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ cananga odorata (iam) hook.f. & thomson var . Odorata ชื่อวงศ์ annonaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๐-๒๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวยค่อนข้างโปร่ง เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยงหรือสีน้ำเงิน กิ่งก้านมักตั้งฉากกับลำต้น ปลายย้อยลู่ลง กิ่งอ่อนมีขน กิ่งแก่ค่อนข้างเรียบ ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก วิธีใช้ ยาหอมบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน โดยการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกซึ่งจะมีสารบำรุงหัวใจ(cadiotonic) บำรุงโลหิต และบำรุงธาตุ นำมาทาและสูดดมให้ความชุ่มชื่นและสดใส

แมงลัก

แมงลัก
ชื่อท้องถิ่น ก้อมก้อข้าว (ภาคเหนือ ) แมงลัก , มังลัก (ภาคกลาง ) อีตู่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ocimum americanum l . Ocimum canum sims ชื่อวงศ์ labiatae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ ๓๐ – ๑๒๐ ซม. โคนลำต้นแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก สีออกขาวเล็กน้อย กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม และตามข้อมีขนสีขาวปกคลุม ออกดอกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ออกช่อบริเวณยอดหรือปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาวและมีขนสีขาว เมื่อกลีบดอกร่วงก็จะเป็นผล ผลมีขนาดเล็กเปลือกแข็งเมล็ดเดียว ส่วนที่ใช้เป็นยา ลำต้น ใบ เมล็ด วิธีใช้ เป็นยาระบาย โดยใช้เมล็ดแมงลัก ๑ – ๒ ช้อนชา ล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำอุ่น ๑ แก้ว หรือประมาณ ๒๕๐ มิลลิลิตร จนพองตัวเต็มที่รับประทานก่อนนอน ซึ่งเมล็ดแมงลักจะทำให้มีจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้น เพิ่มปริมาณอุจจาระ และทำให้อุจจาระอ่อนตัวกว่าปกติ ถ้าเมล็ดแมงลักพองตัวไม่เต็มที่ จะทำให้ท้องอืด และอุจจาระแข็ง

มะเกลือ

มะเกลือ
ชื่อท้องถิ่น ผีเผา (เงี้ยว – ภาคเหนือ ) มะเกลือ (ทั่วไป ) มักเกลือ (เขมร – ตราด ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ diospyros mollis griff . ชื่อวงศ์ ebenaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกต้นสีดำแตกสะเก็ดเล็ก ๆ หรือเป็นร่องทั่วลำต้น เปลือกในสีเหลือง กระพี้สีขาว ถ้าทิ้งไว้นานจะเปลี่ยนเป็นสีค่อนข้างดำ ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กเรียงกัน เนื้อใบบาง ใบแห้งออกสีดำ ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ผลลักษณะเป็นรูปกลม ผิวของผลเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ทั้งต้น แก่น ผล เมล็ด วิธีใช้ เป็นยาถ่ายพยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด ) โดยใช้ผลดิบสีเขียวไม่ช้ำไม่ดำจำนวนเท่ากับอายุของคนไข้ ( ๑ ปี ต่อ ๑ ผล)แต่ไม่เกิน ๒๕ ผล ( คนไข้ที่มีอายุเกิน ๒๕ ปี ก็ให้ใช้เพียง ๒๕ ผล ) นำมาโขลกพอแหลกแล้วผสมกับกะทิสด คั้นเอาแต่น้ำดื่มให้หมด ก่อนรับประทานอาหารเช้า ถ้าเวลาผ่านไป ๓ ชั่วโมงแล้วไม่มีการถ่ายอุจจาระให้ใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ ๒ ช้อนโต๊ะละลายน้ำดื่มตามลงไป

ทับทิม

ทับทิม
ชื่อท้องถิ่น มะเก๊าะ , หมากจัง , พิลาขาว , มะก่องแก้ว (ภาคเหนือ ) ทับทิม (ภาคกลาง ) พิลา ( หนองคาย ) เซียะลิ้ว (จีน ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ punica granatum l . Var . Granatum ชื่อวงศ์ punicaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม ตามกิ่งก้านจะมีหนามแหนม ลำต้นมีการแตกหน่อโคนมาก ดูแล้วเหมือนกับมีลำต้นหลายต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปยาวรีหรือรูปหอก แกมรูปไข่กลับโคนใบมนแคบ ปลายใบเรียวแหลมสั้น ดอกออกดอกเป็นช่อกระจุก ช่อหนึ่ง ๆ มีไม่เกิน ๕ ดอก ผลลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลมโต ผิวนอกหนาเกลี้ยงแข็งเป็นมัน ข้างในผลมีเมล็ดจำนวนมากรูปเหลี่ยม สีชมพูสด ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เปลือกต้น ลำต้น ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ด ใบ วิธีใช้ ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือน โดยใช้เปลือกลำต้นหรือเปลือกรากสด ๑๐ -๒๐ กรัม นำมาต้มกับน้ำสะอาดดื่มก่อนอาหารเช้าแล้วรับประทานยาถ่ายตาม หรือใช้เปลือกสด ๖๐ กรัม ต้มกับน้ำ ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือ ๕๐๐ ซีซี ดื่มครั้งละ ๓๐ ซีซี ก่อนอาหารเช้า แล้วจึงรับประทานน้ำมันละหุ่งตาม เพื่อระบาย หลังจากรับประทานยาแล้ว ๒ ชั่วโมง

ชะเอมไทย

ชะเอมไทย
ชื่อท้องถิ่น เพาะซูโพ , ส้มป่อยหวาน ( ภาคเหนือ ) ชะเอมไทย , ชะเอมป่า (ภาคกลาง ) อ้อยช้าง , ย่ายงาย (ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ albizia myriophylla benth . ชื่อวงศ์ leguminosae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถายืนต้น เปลือกลำต้นมีรอยแตกเป็นจุดเล็ก ๆ ตามขวางของลำต้น ตามลำต้น และกิ่งก้านมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ลักษณะใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบรูปหอก ใบเล็กละเอียดเป็นฝอย คล้ายใบส้มป่อย ดอกออกดอกเป็นช่อ ออกตามบริเวณง่ามใบและปลายยอด ลักษณะดอกเป็นพุ่มกลมสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ลำต้น เนื้อไม้ ดอก ใบ วิธีใช้ เป็นยาระบาย แก้กระหายน้ำ โดยใช้รากสดหรือแห้ง ๑๐ กรัม ต้มในน้ำ ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือน้ำครึ่งหนึ่ง กรองเอาน้ำดื่มวันละ ๒ เวลา เช้า - เย็น

คูณ

คูณ
ชื่อท้องถิ่น ลมแล้ง , ปูโย , เปอโซ , ปือยู , คูณ (ภาคเหนือ ) ชัยพฤกษ์ , ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง ) กุเพยะ ( กาญจนบุรี ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ cassia fistula l . ชื่อวงศ์ leguminosae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงประมาณ ๕ – ๑๕ เมตร เปลือกต้นเรียบ เกลี้ยง สีเทาอ่อนหรือสีเทาอมน้ำตาล สีเทาอมขาวหรือสีนวล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ลักษณะใบย่อยรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบมน แผ่นใบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ เป็นช่อห้อยระย้าออกตามกิ่ง หรือออกตามง่ามใบ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เปลือกรากแก่น แก่น เปลือกต้น ฝัก เนื้อในฝัก ใบแก่ ใบอ่อน ดอก เมล็ด วิธีใช้ เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก โดยเอาเนื้อในฝักแก่หนักประมาณ ๕ – ๑๐ กรัม ต้มกับน้ำ ๕๐๐ ซีซี ใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือตอนเช้าก่อนอาหาร เป็นยาระบายที่เหมาะสำหรับคนท้องผูกเป็นประจำและสตรีมีครรภ์ก็ใช้ฝักคูณเป็นยาระบายได้

มะแว้งต้น

มะแว้งต้น
ชื่อท้องถิ่น มะแคว้งขม, มะแคว้งดำ, สะกั้งแค (ภาคเหนือ) มะแว้งต้น (ภาคกลาง) แว้งคม (สุราษฯ, สงขลา) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ solanum indicum l. ชื่อวงศ์ solanaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ ๓๐-๙๐ ซม. ลักษณะของลำต้นเล็กแข็ง มีขนและหนามแหลมกระจายอยู่ทั่วลำต้น ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ผล วิธีใช้ ช่วยเจริญอาหาร รักษาเบาหวาน และลดน้ำตาลในเลือดโดยใช้ผลสดโตเต็มที่ประมาณ ๑๕-๒๐ ผล ล้างน้ำให้สะอาด รับประทานเครื่องเคียงกับอาหาร หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก เป็นประจำทุกวัน ราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับลม แก้น้ำลายเหนียว

มะเขือมอญ

มะเขือมอญ
ชื่อท้องถิ่น มะเขือพม่า, มะเขือมื่น, มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ) กระเจี๊ยบมอญ, มะเขือมอญ ( ภาคกลาง ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ abelmoschus esculentus (L.) moench ชื่อวงศ์ malvaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ประเภทล้มลุก ลำต้นตั้ง ตรงสูงประมาณ ๑-๒ เมตร ลักษณะมีขนหยาบ สีเขียว ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลอ่อน ผลแห้ง ดอก ใบ เมล็ด วิธีใช้ ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ โดยใช้ดอกสดชุบแป้งทอด รับประทานเป็นอาหารว่าง หรือใช้ดอกแห้งชงเป็นชาดื่มก็ได้ รักษา โรคกระเพาะอาหารโดยใช้ผลแห้งบดละเอียดเป็นผงรับประทานครั้งละ ๑ ช้อนโต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ ๓-๔ ครั้ง อาการของโรคจะทุเลาลงและหาย

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะะลายโจร
ชื่อท้องถิ่น ฟ้าทะลาย, ฟ้าทะลายโจร (กรุงเทพ ฯ)หญ้ากันงู (สงขลา) ซีปังกี (จีน) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ andrographis paniculata (burm.f.) wall. ex nees ชื่อวงศ์ acanthaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ส่วนปลายกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งเล็กด้านข้างจำนวนมาก สูงประมาณ ๓๐-๖๐ ซม. กิ่งก้านมีสีเขียว ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้น ใบ วิธีใช้ เป็นยาขมเจริญอาหาร โดยใช้ทั้งต้นสด ๑-๒ กำมือ หรือประมาณ ๕๐-๗๕ กรัม ล้างให้สะอาดต้มในน้ำเดือด ๑ ลิตร นาน ๑๐ นาที กรองเอาน้ำดื่มวันละ ๓ ครั้งก่อนอาหาร หรือ เวลามีอาการ

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก
ชื่อท้องถิ่น ขี้เหล็กหลวง,ผักจี้ลี้ (ภาคเหนือ ) ขี้เหล็ก (ทั่วไป) ขี้เหล็กใหญ่ ( ภาคกลาง ) ยะหา (มลายู, ปัตตานี) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ senna siamea (lam) lrwin&barneby cassia siamea lam ชื่อวงศ์ leguminosae-caesalpinioideae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดกลางสูงประมาณ๕-๑๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มแคบทึบสีเขียวเข้ม เปลือกต้นสีน้ำตาล หรือ สีเทาปนน้ำตาล มีรอยแตกตามยาวของลำต้นเป็นร่องตื้นๆ ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก กระพี้ แก่น ใบ ดอก ผลหรือฝัก วิธีใช้ อาการนอนไม่หลับ กังวล เบื่ออาหาร โดยใช้ใบขี้เหล็กแห้ง ๓๐ กรัม หรือใช้ใบสดหนัก ๕๐กรัม ต้มเอาแต่น้ำดื่มก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้าใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ ๒ วัน คนทุกวัน แล้วกรองเอาน้ำออก ดื่มครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา ก่อนนอน

กันเกรา

กันเกรา
ชื่อท้องถิ่น มันปลา (ภาคเหนือ , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ตาเตรา (เขมร , ภาคตะวันออก) กันเกรา (ภาคกลาง) ทำเสา, ตำเสา (ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ fagraea fragrans roxb ชื่อวงศ์ gentlanaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ๕- ๑๕เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มแคบทึบสีเขียวเข้ม เปลือกต้นสีน้ำตาล หรือสีเทาปนน้ำตาล มีรอยแยกของลำต้นเป็นร่องตื้นๆ ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เปลือกต้น กระพี้ แก่น ใบ ดอก ผลหรือฝัก วิธีใช้ ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย บำรุงประสาท ใช้ดอกตูมสดต้มในน้ำสะอาดแล้วเปลี่ยนน้ำต้มใหม่ ๑-๒ ครั้งเพื่อให้ความขมลดลงแล้วรับประทาน หรืออาจจะนำดอกที่ต้มแล้วไปปรุงเป็นอาหารรับประทานก็ได้

แสมสาร

แสมสาร
ชื่อท้องถิ่น ขี้เหล็กโคก , ขี้เหล็กแพะ , ขี้เหล็กป่า ( ภาคเหนือ ) แสมสาร ( ภาคกลาง ) ขี้เหล็กสาร , กะบัด ( ภาคอีสาน ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ senna garrettiana ( craib ) irwin & barneby ชื่อวงศ์ leguminosae - caesalpinioideae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง ๗ – ๑๓ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ มีใบย่อย ๖ – ๙ คู่ ลักษณะใบรูปใบหอก หรือรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายใบแหลม โคนใบกลม ใบหนามีสีเขียว ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ ๘ – ๒๐ ซม. มีขนสีน้ำตาลเหลืองหนาแน่น ดอกมีจำนวนมากสีเหลือง และมักบิด ส่วนที่ใช้เป็นยา แก่นหรือลำต้น วิธีใช้ ขับโลหิตระดูสตรี ยาระบาย โดยใช้แก่นแสมสารและแก่นขี้เหล็กรวมกันอย่างละเท่า ๆ กัน ประมาณ ๒ กำมือ หรือประมาณ ๔๐ กรัม ต้มในน้ำสะอาด ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือ ๓ ใน ๔ ส่วน กรองเอาน้ำดื่ม วันละ ๒ – ๓ เวลา ก่อนอาหาร

เพกา

เพกา
ชื่อท้องถิ่น มะลิดไม้ , ลิดไม้ , หมากลิ้นก้าง , หมากลิ้นซ้าง ( ภาคเหนือ ) เพกา ( ภาคกลาง ) ลิ้นฟ้า ( เลย ) เบโก ( ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ oroxylum indicum ( l ) kurz ชื่อวงศ์ bignoniaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดขนาดเล็กผัดใบ สูงประมาณ ๔ – ๒๐ เมตร เปลือกต้นเรียบสีเทา บางทีแตกเป็นรอยตื้นเล็กน้อย มีรูระบายอากาศกระจัดกระจายตามลำต้นและกิ่งก้าน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบเดี่ยว ๆ ขนาดใหญ่ที่ปลายก้าน รูปทรงกลม ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ ขอบใบเรียบ ออกตรงข้ามชิดกัน อยู่ประมาณปลายกิ่ง ก้านใบย่อยสั้น แผ่นใบสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ช่อมีขนาดใหญ่ออกที่บริเวณปลายยอด มีก้านช่อดอกยาว มีดอกย่อยขนาดใหญ่ รูปปากเปิดแบบสมมาตรด้านข้าง ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกราก ราก เปลือกต้น ใบ ผลอ่อน ผลแก่ เมล็ด วิธีใช้ ขับเลือด ขับน้ำเหลืองเสีย โดยใช้เปลือกต้นสด ๑ กำมือ สับเป็นชิ้นต้มในน้ำสะอาด ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือ ๓ ใน ๔ ส่วน แล้วกรองเอาน้ำดื่ม เช้า - เย็น

เจตุมูลเพลิงขาว

เจตุมูลเพลิงขาว
ชื่อท้องถิ่น ปิดปิวขาว ( ภาคเหนือ ) ตั้งชู้อ้วย , ตอชุวา ( กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน ) เจตมูลเพลิงขาว ชื่อทางวิทยาศาสตร์ plumbago zeylanica l . ชื่อวงศ์ plumbaginaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑ – ๑.๕ เมตร กิ่งอ่อนเป็นรองและเป็นเหลี่ยมสีเขียว แตกกิ่งก้านสาขารอบ ๆ ต้นมากมาย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะคล้ายกับใบมะลิแต่จะใหญ่กว่า ออกดอกเป็นช่อ ที่ส่วนยอดของต้น ดอกมีสีขาว โคนหลอด จะเป็นหลอดเล็ก ๆ แต่ส่วนปลายจะคล้ายจาน ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ต้น ใบ ดอก วิธีใช้ ขับประจำเดือนหรือขับโลหิตระดู โดยใช้รากสด ๕ – ๑๐ กรัม หรือแห้งประมาณ ๓ – ๕ กรัม ล้างน้ำให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นต้มในน้ำสะอาด ๕๐๐ ซีซี นานประมาณ ๑๐ นาที แล้วกรองเอาน้ำดื่มวันละ ๒ เวลา เช้า – เย็น

คำฝอย

คำฝอย
ชื่อท้องถิ่น ดอกคำ , คำฝอย (ภาคเหนือ ) คำยอง ( ลำปาง ) คำ ( ทั่วไป ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ carthamus tinctorius l . ชื่อวงศ์ compositae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก มีอายุราว ๑ ปี สูงประมาณ ๑ – ๑.๕ เมตร ลักษณะลำต้นเป็นสัน ผิวเกลี้ยง ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปหอกแกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ปลายใบแหลม ขอบใบมีหนามหยักเป็นซี่ฟัน ดอกเป็นกระจุกที่ปลายลำต้น ก้านดอกใหญ่ ผิวเกลี้ยง กลีบดอกตอนแรกสีเหลือง เปลี่ยนเป็นสีส้มอมแดงเมื่อแห้ง ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก เกสร เมล็ด ดอกแก่ วิธีใช้ ขับประจำเดือน บำรุงหัวใจ โดยใช้ดอกแห้ง ๕ กรัม ชงเป็นน้ำชาดื่มก่อนอาหาร เช้า – เย็น เป็นประจำทุกวัน

กระทือ

กระทือ
ชื่อท้องถิ่น กะแวน , กะแอน , แฮวดำ , เฮียวข่า , เปลพ้อ ( ภาคเหนือ ) กะทือ ( ภาคกลาง ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ zingiber zerumbet ( l . ) sm . ชื่อวงศ์ zingiberaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นใต้ดินลักษณะเป็นเหง้า มีกลิ่นน้ำมันระเหย เนื้อในเหง้าหรือลำต้นใต้ดินมีสีขาวอมเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง แทงหน่อออกด้านข้างและนอกสุด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลมออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด แตกช่อจากหัวใต้ดินโผล่พ้นดินขึ้นมา ช่อดอกที่เห็นเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียวปนแดง ปลายและโคนมนโค้ง ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน ลำต้น ใบ ดอกและเกสร วิธีใช้ ขับเลือดเน่าในมดลูก ขับน้ำคาวปลา โดยใช้ใบสด ๑ กำมือหรือประมาณ ๒๐ กรัม ต้มในน้ำสะอาด ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่งกรองเอาน้ำดื่มวันละ ๓ เวลา ก่อนอาหาร

กำลังกระบือ

กำลังกระบือ
ชื่อท้องถิ่น กระบือเจ็ดตัว , ลิ้นกระบือ ( ภาคกลาง ) กะเบือ ( ราชบุรี ) ใบทองแดง ( จันทบุรี ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ excoecaria cochinchinensis lour . var . Cochinchinensis ชื่อวงศ์ euphorbiaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มสูงประมาณ ๗๐ – ๑๕๐ ซม. ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม กิ่งเรียวเล็ก เปลือกสีแดงอมม่วง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันหรือเรียงสลับ ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือขอบขนานแกมไข่กลับ โคนใบแหลม ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ ขอบใบหยักห่าง ๆ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ยอด มีทั้งดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ อาจจะอยู่บนต้นเดียวกันหรือต่างต้นก็ได้ ส่วนที่ใช้เป็นยา ลำต้น ใบ วิธีใช้ ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด ขับเลือดเน่า ขับประจำเดือน โดยใช้ใบสด ๑๐ – ๑๕ ใบ ล้างน้ำให้สะอาด โขลกให้ละเอียด ผสมกับเหล้าโรงเล็กน้อย คั้นเอาน้ำค่อย ๆ จิบ เช้า – เย็น

เสลดพังพอน

เสลดพังพอน
ชื่อท้องถิ่น พิมเสนต้น , เสลดพังพอนตัวผู้ ( ภาคกลาง ) เช็กเชเกี่ยม ( จีน ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ barleria lupulina lindl. ชื่อวงศ์ acanthaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม แตดกิ่งก้านสาขามากมายรอบ ๆ ลำต้น สูงประมาณ ๑ เมตร มีหนามสีน้ำตาลคู่ ตามข้อและโคนใบ กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบรูปยาวเรียวแคบ โคนและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ที่โคนก้านมีหนามแหลม ๑ คู่ สีม่วงชี้ลง ออกดอกเป็นช่อตามยอดหรือที่ปลายกิ่ง ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ราก วิธีใช้ รักษาอาการปวดฝี ถอนพิษ ปวดอักเสบปวดร้อน แมลงสัตว์กัดต่อย โดยที่ใช้ใบสด ๑ กำมือ หรือประมาณ ๒๐ กรัม โขลกให้ละเอียดผสมเหล้าโรงพอกบริเวณที่เป็นฝีหรือบริเวณที่เป็นวันละ ๓ เวลา

ลิ้นงูเห่า

ลิ้นงูเห่า
ชื่อท้องถิ่น ลิ้นงูเห่า ( จันทบุรี ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ clinacanthus siamensis bremek. ชื่อวงศ์ acanthaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาล้มลุกลักษณะพุ่มเลื้อย คล้ายต้นเสลดพังพอนตัวเมีย ลำต้นกลมสีเขียวเรียวยาว ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปหอกหรือรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบเล็กกลม แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม ใบดกหนาทึบ ออกดอกเป็นช่อกระจุก สีแดงปนส้ม แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยอัดแน่น ลักษณะคล้ายเสลดพังพอนตัวเมีย ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ใบ วิธีใช้ ลดอาการปวดแสบปวดร้อนของตุ่มแผลงูสวัด โดยใช้ใบสด ๑๐ – ๒๐ ใบ ล้างให้สะอาดนำมาโขลกให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อย นำมาทาและพอกบริเวณที่มีอาการ เช้า – เย็น เป็นประจำ

พิลังกาสา

พิลังกาสา
ชื่อท้องถิ่น ผักจำ , ผักจ้ำแดง ( เชียงใหม่ , เชียงราย ) พิลังกาสา ( ภาคกลาง ) ตีนจำ ( เลย ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ardisia polycephala wall . ex a.dc. ชื่อวงศ์ myrsinaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็กขนาดย่อม มีความสูงประมาณ ๒ – ๓ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก ลักษณะลำต้นสีเทา ผิวขรุขระ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบรูปไข่ ปลายแหลมโคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ใบหนาดกทึบและใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อ อยู่ตามปลายกิ่งหรือตามส่วนยอด ดอกสีขาวเหลือบม่วง เป็นกลุ่มใหญ่ ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ต้น ใบ ดอก ผล วิธีใช้ แก้โรคผิวหนังหรือโรคเรื้อน โดยใช้ผลสด ๑๐ – ๑๕ กรัม นำมาโขลกให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ใช้ทาและพอกบริเวณที่เป็นวันละ ๒ เวลา เช้า – เย็น หรืออาจจะใช้เปลือกต้น ๑ ฝ่ามือ สับเป็นชิ้นแล้วโขลกให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อยคั้นเอาน้ำทาและพอก ด้วยกากวันละ ๒ เวลา

ใบระนาด

ใบระนาด
ชื่อท้องถิ่น ใบระบาด , ผักระบาด , เมืองมอน ( ภาคกลาง ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ argyreia nervosa ( burm.f. ) bojer ชื่อวงศ์ convolvulaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาลักษณะเลื้อยยาว ตามลำต้นและกิ่งก้านมีขนนุ่มสีขาวหรือน้ำตาลแกมเหลือง หนาแน่น มียางเหนียวสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะรูปไข่หรือรูปกลม ปลายใบมนแหลมหรือแหลมเป็นหาง มีติ่งสั้นเล็ก โคนใบรูปหัวใจเว้าลึก ออกดอกชิดเป็นช่อ ก้านช่อดอกแข็ง ยาวถึง ๒๐ ซม. กลีบดอกใหญ่ เชื่อมติดกันเป็นรูปท่อหรือรูปกรวย สีม่วงแกมชมพู ลายกลีบจักเป็นแฉกตื้น ๆ ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ใบ วิธีใช้ เป็นยารักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ใบสด ๔ – ๗ ใบ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาโขลกให้ละเอียด ใช้ทาและพอกบริเวณที่เป็น ฝีและบาดแผลอักเสบ วันละ ๒ – ๓ ครั้ง เป็นประจำจนกว่าจะหาย

เทียนดอก

เทียนดอก
ชื่อท้องถิ่น เทียนดอก , เทียนไทย , เทียนบ้าน , เทียนสวน ( ทั่วไป ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ impatiens balsamina l . ชื่อวงศ์ balsaminaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ลำต้นจะอวบน้ำและมีขนเล็กน้อย สูงประมาณ ๓๐ – ๕๐ ซม . ลำต้นเอียงไม่ตั้งตรง เปราะง่าย ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกตามก้านของลำต้น ลักษณะใบมนรีหรือรูปเรียวรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักละเอียด สีของใบจะเริ่มจากสีเขียวอ่อนไปจนถึงสีเขียวและสีเขียวเข้ม ออกดอกเดี่ยว จะออกติดกันช่อหนึ่งอาจจะมี ๒ – ๓ ดอก ดอกมีหลายสี เช่น สีชมพู สีแดง สีส้มและสีขาว ออกดอกตรงส่วนยอดของลำต้น กลีบของดอกจะอยู่ซ้อน ๆ กันเป็นวงกลม ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ลำต้น ใบ ดอก เมล็ด วิธีใช้ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดตามนิ้วมือ นิ้วเท้า เล็บขบ โดยใช้ใบสดและดอกสีขาว ๑๐ – ๒๐ กรัม นำมาโขลกให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็นวันละ ๓ ครั้ง เป็นเวลา ๕ – ๗ วัน

หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว
ชื่อท้องถิ่น พยับเมฆ , หญ้าหนวดแมว ( กรุงเทพ ฯ , ทั่วไป ) อีตู่ดง , (เพชรบูรณ์ ) บางรักป่า , ( ประจวบคีรีขันธ์ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ orthosiphon aristatus ( blume ) miq . orthosiphon grandiflorus bold . ชื่อวงศ์ labiatae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นจะมีความสูงประมาณ ๓๐ – ๘๐ ซม. กิ่งอ่อนและลำต้นจะเป็นสี่เหลี่ยม โคนต้นอ่อนโค้ง ปลายใบตั้งตรง ตามยอดอ่อนมีขนกระจาย ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบเป็นรูปไข่หรือรูปข้าวหลามตัด ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ออกดอกตรงปลายยอด สีขาวหรือสีขาวอมม่วงอ่อน ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้น ใบ วิธีใช้ แก้อาการขัดเบา ขับปัสสาวะ โดยใช้ใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ล้างน้ำให้สะอาดและนำมาตากในที่ร่มให้แห้ง ประมาณ ๕ กรัมหรือ ๔ หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน ๗๕๐ มิลลิลิตร เหมือนกับชงชาดื่มวันละ ๓ ครั้งหลังอาหาร

มะเขือขื่น

มะเขือขื่น
ชื่อท้องถิ่น มะเขือแจ้ , มะเขือคางกบ , มังคิเก่ ( เหนือ ) มะเขือเปราะ , มะเขือเสวย (ภาคกลาง ) เขือเพา , เขือหิน (ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ solanum aculeatissimum jacq . ชื่อวงศ์ solanaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๓๐ – ๖๐ ซม. ลักษณะลำต้นตั้งตรง แข็งแรง มีขนนุ่มขึ้นปกคลุม แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลาบใบแหลมหรือมน ขอบใบหยักเว้าตื้น ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ๕ กลีบ ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ผล เมล็ด วิธีใช้ ขับปัสสาวะ โดยใช้เมล็ดตากแห้ง แล้วบดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ครั้งละ ๑ ช้อนชา ชงเป็นน้ำชาดื่ม วันละ ๒ เวลา เช้า – เย็น

ผักดาวทอง

ผักดาวทอง
ชื่อท้องถิ่น ผักก้านตอง , ผักเข้าตอง , ผักคาวตอง ( ภาคเหนือ ) ผักคาวทอง , พลูแก ( กลาง ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ houttuynia cordata thumb ชื่อวงศ์ saururaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกลำต้นจะอวบน้ำและมีขนเล็กน้อย สูงประมาณ ๑๕ – ๔๐ ซม. ลำต้นเอียงไม่ตั้งตรง ส่วนที่เลื้อยไปตามดินมีรากแตกออกตามข้อ ทั้งต้นมีกลิ่นคาว คล้ายกลิ่นคาวปลา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันตามข้อลำต้น ลักษณะใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดหรือรูปหัวใจ ออกดอกเป็นช่อตามปลายยอดหรือดอกเดี่ยว ๆ มีใบประดับสีขาว ๔ ใบที่โคนช่อดอก แต่ละใบกางออกเป็นมุมฉากกับลำต้น ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ทั้งต้น ใบ วิธีใช้ แก้โรคหนองใน ขับปัสสาวะ ระดูขาว โดยใช้ต้นสด ๒๐ – ๓๐ กรัม ล้างให้สะอาด นำไปต้มในน้ำ ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง กรองเอาน้ำดื่ม เช้า – เย็น ส่วนกากที่เหลือนำมาพอกหัวริดสีดวงได้

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม
ชื่อท้องถิ่น เคยโป้ , หญ้าไก่นกคุ่ม , หญ้าปราบ หนาดผา , หญ้าไฟนกคุ่ม (ภาคเหนือ ) โด่ไม่รู้ล้ม (ภาคกลาง ) ขี้ไฟนกคุ่ม , คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ elephantopus scaber l . ชื่อวงศ์ compositae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากและออกเป็นกอเตี้ย ๆ ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับผักชีฝรั่ง มีรากอวบสูงประมาณ ๕ – ๒๐ นิ้ว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงรอบ ๆ ที่โคนต้น ลักษณะใบรูปรียาว ปลายใบมน โคนใบสอบ เส้นใบตรงกลางสีขาว ออกดอกเป็นช่อแบบแขนง จะออกบริเวณปลายยอด สีม่วง ส่วนที่ใช้เป็นยา รากและใบ ต้น ใบ วิธีใช้ ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ โดยใช้ต้นสด ๑ – ๒ กำมือหรือประมาณ ๒๐ – ๓๐ กรัม สับท่อนต้มในน้ำสะอาด ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง กรองเอาน้ำดื่ม วันละ ๓ เวลา

กาแฟ

กาแฟ
ชื่อท้องถิ่น กาแฟ (ทั่วไป ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ coffea canephora pierre ex a . froehner ชื่อวงศ์ rubiaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูงประมาณ ๒ – ๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง แตกกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปรีกว้าง ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งหรือตามซอกใบ ดอกสีขาว ออกดอกเดือนเมษายน มีกลิ่นหอมในเวลากลางคืน ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด วิธีใช้ ขับปัสสาวะ กระตุ้นประสาท เมล็ดกาแฟมีสารสำคัญคือ คาเฟอีน มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ขับปัสสาวะ ช่วยไม่ให้อาเจียน ไม่ให้หมดสติเมื่อโดนยาเสพติด ระงับปวด โดยใช้เมล็ดกาแฟคั่วให้สุก แล้วบดละเอียดชงดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยกาแฟ

อบเชย

อบเชย
ชื่อท้องถิ่น อบเชย (ภาคกลาง ) จวงดง ( หนองคาย ) ขนุนมะแวง เชียกใหญ่ , เฉียด , ฝนแสนห่า , มหาปราบ ( ใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ cinnamomum bejolghota ( buch. – ham . ) sweet ชื่อวงศ์ lauraceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๔ – ๕ เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล มีรอยด่างสีขาว ลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดบ้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปใบรี ปลายใบแหลม โคนใบมน เส้นใบจะแตกออกจากโคนใบ ๓ เส้น หลังใบเรียบมัน ใบอ่อนและยอดอ่อนมีสีแดง ออกดอกเป็นช่อ ตามบริเวณง่ามใบและที่ปลายยอดสีเหลืองอ่อน ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกต้น รากและใบ วิธีใช้ ขับลมในลำไส้ โดยใช้เปลือกต้นที่มีกลิ่นหอม สามารถกลั่นน้ำมัน cinnamon มีสาร cinnamic aldehyde , eugenol ช่วยขับลมในท้อง แก้ปวดท้อง ฆ่าเชื้อโรคได้ หรือบดอบเชยให้เป็นผงละเอียดใช้ปริมาณ ๑ กรัม ชงน้ำร้อนดื่มครั้งละ ๑ แก้ว หรือ ๒๕๐ ซีซี

สะระแหน่

สะระแหน่
ชื่อท้องถิ่น หอมด่วน ( ภาคเหนือ ) สะระแหน่ , สะระแหน่สวน ( ภาคกลาง ) มักเงาะ , สะแน่ ( ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ mentha cordifolia opiz ex fresen ชื่อวงศ์ labiatae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี แตกกิ่งก้านสาขามาก และเลื้อยไปตามดิน มีขนนิ่มปกคลุม ทุกส่วนของลำต้นมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน ออกดอกเป็นช่อกระจุก นิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อใช้เป็นอาหารและปรุงยา ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ วิธีใช้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ระงับอาการเกร็งของกระเพาะอาหาร ใช้ทั้งลำต้น ๑ กำมือ โขลกผสมเหล้าโรง คั้นแล้วกรองเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา

ยี่หร่า

ยี่หร่า
ชื่อท้องถิ่น จันทร์หอม , เนียม , สะหลี่ดี ( ภาคเหนือ ) โหระพาช้าง , กะเพราญวณ ( ภาคกลาง ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ocimum gratissimum l . ชื่อวงศ์ labiatae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มสูงประมาณ ๑ – ๓ เมตร ลำต้นและกิ่งอ่อนมีขน เมื่อแก่เกลี้ยง โคนต้นแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม ลักษณะใบรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยหรือจักมน มีขนละเอียดปกคลุมหรือมีขนประปราย ก้านใบยาวเล็กและมีขนขึ้นทั่วใบ ออกดอกเป็นช่อที่ยอดและที่ปลายกิ่ง ช่อดอกแบบกระจะหรือกระจะซ้อน แกนกลางช่อมีขนนุ่ม ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ เมล็ด ทั้งต้น ผลสุก วิธีใช้ แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม โดยใช้เมล็ด ๕ กรัม ต้มในน้ำสะอาดดื่มวันละ ๒ ครั้ง เช้า – เย็น หรืออาจจะใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงรสอาหารรับประทานก็ได้

พลู

พลู
ชื่อท้องถิ่น พลู ( ทั่วไป , ภาคกลาง ) ซีเก๊ะ ( มาลายู , ใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ piper betle l . ชื่อวงศ์ piperaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาเลื้อยยาว ลักษณะของลำต้นอวบน้ำ มีร่องเล็ก ๆ สีน้ำตาลยาวขนานไปตลอดลำต้น สันร่องมีสีเขียว มีข้อและปล้องชัดเจน มีรากออกรอบข้อไว้ยึดเกาะ ทุกส่วนมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเป็นใบเดี่ยว ติดกับลำต้นแบบสลับ ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปหัวใจลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ ผิวใบมัน ออกดอกเป็นกลุ่มเรียงอยู่บนก้านช่อดอก และดอกมีขนาดเล็กสีขาว ไม่มีก้าน ลักษณะดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกเพศผู้และเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละดอก ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ วิธีใช้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ โดยใช้ใบสด ๑ – ๗ ใบ ล้างให้สะอาดโขลกให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรงเล็กน้อยแช่ไว้ประมาณ ๕ นาที คั้นเอาน้ำจิบ

ตะไคร้

ตะไคร้
ชื่อท้องถิ่น คาหอม , จะไคร ( ภาคเหนือ ) ตะไคร้ ( ภาคกลาง ) หัวสิงไค ( ภาคอีสาน ) ไคร ( ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ cymbopogon citratus stapf ชื่อวงศ์ gaamineae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ หญ้าหรือกก เป็นพืชล้มลุกประเภทหญ้า ลำต้นเป็นกอใหญ่มีข้อและปล้องสั้นเห็นชัดเจน สูงประมาณ ๑ เมตร มีไขปกคลุมตามข้อ ลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก ยาว แข็งและเกลี้ยง ส่วนลำต้นมีใบอ่อนเรียงสลับกันแน่นมาก กาบใบเป็นแผ่นยาวโอบซ้อนกันจนดูแข็ง ออกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ แบบช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมี ๑ – ๑๒ ช่อ ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เหง้า ใบ วิธีใช้ รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด โดยใช้ลำต้นสด ๆ ทุบพอแหลกประมาณ ๑ กำมือหรือหนักประมาณ ๔๐ – ๖๐ กรัม ต้มในน้ำ ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง แล้วกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓ เวลา

ช้าพลู

ช้าพลู
ชื่อท้องถิ่น ผักปูนา , พลูลิง , เย่เท้ย , ผักพลูนก ( ภาคเหนือ ) ช้าพลู (ภาคกลาง ) นมวา ( ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ piper sarmentosum roxb . ชื่อวงศ์ piperaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ พืชล้มลุกที่มีด้วยกัน ๒ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ต้นเตี้ยสูงประมาณ ๕๐ – ๖๐ ซม. ลำต้นเป็นข้อ ๆ มีไหลงอกออกเป็นต้นใหม่ และอีกชนิดหนึ่งเป็นเถาลักษณะลำต้นทอดคลานไปตามดิน ลำต้นมีสีเขียวทั้งสองชนิด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ลักษณะใบรูปหัวใจ ผิวใบไม่เรียบมีกลิ่นเฉพาะตัว ปลายใบแหลม โดยทั่วไปแล้วคล้ายใบพลู ออกดอกเป็นช่อที่ยอด เป็นรูปทรงกระบอก ปลายมน คล้ายดอกดีปลี ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ลำต้น ดอก ใบ วิธีใช้ ช่วยขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ โดยใช้รากชะพลูสด ๑๐ – ๑๕ กรัม นำมาโขลกให้ละเอียดผสมน้ำพอประมาณ แล้วกรองดื่ม

กระเพรา

กระเพรา
ชื่อท้องถิ่น ห่อกวอซู , อิ่มคิมหลำ , ก้อมก้อ , ( ภาคเหนือ ) กระเพรา ( ภาคกลาง ) อีตู่ไทย ( ภาคอีสาน ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ocimum tenuiflorum l . ชื่อวงศ์ labiatae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม โคนใบแข็ง ยอดเป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนปกคลุมไปทั่ว แตกกิ่งก้านสาขามากและมีกลิ่นหอมแรง กระเพราที่ปลูกกันอยู่มี ๒ ชนิด คือ กระเพราขาวและกระเพราแดง ใบเป็นใบเดี่ยวแตกใบออกตรงข้ามในแต่ละข้อของลำต้นและกิ่ง ลักษณะใบรูปรีหรือรีค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น ออกดอกเป็นช่อแบบฉัตร ออกช่อที่ยอดหรือปลายกิ่ง ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก รากและลำต้น ใบ ดอก เมล็ด วิธีใช้ เป็นยาขับลมในเด็กอ่อน โดยใช้ใบสดใส่เกลือเล็กน้อยบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งหยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด ๒ – ๓ หยดประมาณ ๓ วัน จะช่วยผายลมและถ่ายขี้เถ้า สำหรับผู้ใหญ่ใช้ใบกระเพราแห้งหรือบดเป็นผงชงน้ำดื่มเป็นยาขับลม

สมอพิเภก

สมอพิเภก
ชื่อท้องถิ่น แหน , แหนขาว , แหนต้น ,ซิบะดู่ (ภาคเหนือ ) สมอพิเภก , สมอแหน (ภาคกลาง ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ terminalia bellerica (gaertn ) roxb . ชื่อวงศ์ combretaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๕ – ๓๕ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง ที่โคนต้นมักมีพูพอนขนาดใหญ่ เปลือกลำต้นหนา มีรอยแตกเป็นร่องตามยาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบรูปไข่กลับ มักมีตุ่มหูดเล็ก ๆ อยู่ที่ระหว่างกลางก้านใบ หรือใกล้ ๆ โคนใบ ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือที่ปลายยอด ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ดอกสีเหลือง ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เปลือกต้น ใบ ดอก ผล วิธีใช้ แก้ท้องเสีย โดยใช้เปลือกต้นสด ๑๐ – ๑๕ กรัม ล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้นต้มในน้ำ ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว ช่วยระบายและหยุดถ่าย โดยใช้ผลดิบรับประทานสด ๑ – ๓ ผล อาจจะจิ้มเกลือหรือน้ำตาลเล็กน้อยก็ได้ เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น

สมอดีงู

สมอดีงู
ชื่อท้องถิ่น สมอดีงู , (ภาคกลาง ) สมอพิเภก , สมอหมึก , สมอเหลี่ยม (ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ terminalia citrina ( gaertn ) roxb . Ex fleming ชื่อวงศ์ combretaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๐ – ๓๐ เมตร ผลัดใบเรือนยอดแผ่กว้าง ที่โคนต้นมักมีพูพอนขนาดเล็ก เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลแกมเทา กิ่งอ่อนมีรูหายใจ มีขนนุ่มสีแดงเรื่อ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันหรือกึ่งตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือที่ปลายยอด ดอกย่อยไม่มีก้าน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ส่วนที่ใช้เป็นยา ผล วิธีใช้ แก้ท้องเสีย ท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยใช้ผลดิบ ๕ – ๑๐ ผล ทุบพอแตก ต้มน้ำสะอาด ๕๐๐ ซีซี ประมาณ ๑๐ นาที แล้วกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ ๑ แก้ว

โมกหลวง

โมกหลวง
ชื่อท้องถิ่น ซอทึ , พอแก , ส่าตึ , หนามเนื้อ , ( ภาคเหนือ ) มูกมันหลวง , โมกเขา , โมกทุ่ง (ภาคกลาง ) พุทธรักษา (เพชรบุรี ) ยางพูด ( เลย ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ holarrhena pubescs wall . Ex g. don ชื่อวงศ์ apocynaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๒ – ๑๓ เมตร เปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม มียางสีขาวข้นทุกส่วน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปทรงหลายแบบ เช่น รูปรี รูปไข่แกมรูปขอบขนาน รูปไข่และรูปหอกกลับ ออกดอกเป็นช่อ ออกตามบริเวณปลายยอด สีขาว มีกลิ่นหอม ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก แก่น ใบ ดอก เมล็ด วิธีใช้ แก้บิด โดยใช้เปลือกต้น ๑๐ – ๑๕ กรัม ล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้นต้มในน้ำ ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง กรองเอาน้ำดื่มครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ เวลา เช้า – เย็น

มะตูม

มะตูม
ชื่อท้องถิ่น มะปิน , มะปีส่า , (ภาคเหนือ ) มะตูม (ภาคกลาง ) กะทันตาเถร , ตุ่มตัง ,ตูม (ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ aegle marmelos ( l ) correa ex roxb . ชื่อวงศ์ rutaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ ๗ – ๑๕ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามยาวแหลม ลักษณะลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นไม่เรียบสีเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย ๓ ใบลักษณะใบย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปหอกแกมรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีสีขาว ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ลำต้นและเปลือกราก ผล ใบสด วิธีใช้ แก้ท้องเสีย แก้ธาตุพิการ แก้บิด โดยใช้ผลดิบอ่อน หั่นเป็นแว่นตากแดดให้แห้ง ๕ – ๘ แว่น ต้มในน้ำสะอาด ๑ ลิตร เคี่ยวประมาณ ๑๐- ๑๕ นาที กรองเอาน้ำดื่ม ครั้งละ ๑ แก้ว ทุก ๒ หรือ ๔ ชั่วโมง

เปล้าน้อย

เปล้าน้อย
ชื่อท้องถิ่น เปล้าน้อย (ปราจีนบุรี , ประจวบคีรีขันธ์ ) เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ croton stellatopilosus ohba ชื่อวงศ์ euphorblaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดเล็ก ผลัดใบมีความสูงประมาณ ๔-๘ เมตร กิ่งก้านค่อนข้างใหญ่ ยอดอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกมีเกล็ดสีเทาเป็นแผ่นเล็ก ๆ ปกคลุมไปทั่ว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบรูปรี ยาวแคบหรือรูปไข่กลับแกมรูปหอก โคนใบสอบแคบ ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อยาวที่ปลายยอด มีสีขาว ขนาดเล็กและก้านดอกมีขนรูปดาว รังไข่มีขน ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก แก่น เปลือกและใบ ใบ ดอก วิธีใช้ แก้ท้องเสีย บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต โดยใช้เปลือกต้น และใบสด ๑๕ – ๒๐ กรัม ล้างให้สะอาด ตัดเป็นท่อนหรือชิ้น ต้มในน้ำสะอาด ๑ ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง กรองเอาน้ำดื่มครั้งละ ๒๕๐ ซีซี

ปอบิด

ปอบิด
ชื่อท้องถิ่น ช้อ , ปอทับ , ปอบิด ( ภาคกลาง , ภาคเหนือ ) บิด , มะปิด , (พายัพ ) ลูกปิด , ชะมด (ภาคกลาง ) หั่วสั่วหมา (จีนกลาง ) เข้าจี (ลาว ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ helicteres isora l . ชื่อวงศ์ sterculiaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๒-๓ เมตร ลำต้นกลมเรียวอ่อน ดูคล้ายเถา เปลือกลำต้นมียางเหนียว และทุกส่วนของลำต้นจะมีขนขึ้นทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรีค่อนข้างกลม โคนใบเว้าเข้าหากัน ปลายใบแหลม ริมขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา ออกดอกเป็นกระจุกประมาณ ๒-๓ ดอก ดอกจะออกระหว่างบริเวณต้นกับใบหรือที่ง่าม ลักษณะของดอกกลีบมีสีส้ม หรือสีอิฐ ส่วนที่ใช้เป็นยา รากและเปลือกราก เปลือกลำต้น ผลหรือฝัก วิธีใช้ แก้ท้องร่วง โรคบิด โดยใช้ผลแห้งประมาณ ๑๐ – ๑๕ กรัม นำมาต้มในน้ำสะอาด ๕๐๐ ซีซี แล้วกรองเอาน้ำดื่ม ครั้งละ ๒๕๐ ซีซี

ขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้นเครือ (จันทบุรี , ภาคใต้ ) ขมิ้นฤาษี , ฮับ (ใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ arcangelisia flava ( l . ) merr . ชื่อวงศ์ menispermaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาลักษณะเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ เถากลม เปลือกชุ่มน้ำ ผิวสีน้ำตาลเหลือง หน้าตัดของลำต้นและราก เห็นเนื้อไม้เป็นรัศมีเนื้อไม้สีเหลืองจัดจากสีของ อัลคาลอยด์ berberine มีกลิ่นหอมเหมือนขมิ้น ใบเป็นใบเดี่ยวลักษณะใบรูปหอกกว้าง กลมและหนาสีเขียวมัน มีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ ๑๐ ซม. ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ใบประดับเล็กและหลุดร่วงไปในไม่ช้า ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ลำต้น ต้น ดอก ใบ วิธีใช้ แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นหรือราก ๑๐ – ๑๕ กรัม สับเป็นท่อนหรือเป็นชิ้น ล้างให้สะอาด ต้มในน้ำ ๑ ลิตร ประมาณ ๑๐ – ๑๕ นาที แล้วกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ ๑ แก้ว ( ๒๕๐ ซีซี )

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร
ชื่อท้องถิ่น ว่านธรณีสาร , เสนียด (กรุงเทพ ฯ ) ก้างปลา , ก้างปลาดิน , ดอกใต้ใบ , ครีบยอด , กระทืบยอด , คดทราย , เดอก้อเนาะ , ตรึงบาดาล , รุรี , (ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ phyllanthus pulcher wall . Ex mull . Arg ชื่อวงศ์ euphorbiaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑ เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล มีรอยแผลของใบที่หลุดร่วงปรากฏให้เห็นตลอดทั้งต้น ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันซ้ายขวาถี่ ๆ ลักษณะรูปใบขอบขนานหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบกลมมน เนื้อใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบและปลาย ๆ กิ่ง ซึ่งใบได้ลดรูปลงไปคล้ายช่อดอก ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้น ใบ วิธีใช้ แก้ไข้ แก้ปวดท้อง โดยใช้ต้นสดยาวประมาณ ๑๕ – ๒๐ ซม. ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ ต้มน้ำ ๕๐๐ ซีซี ประมาณ ๑๕ นาที กรองเอาน้ำดื่มหรือจิบเรื่อย ๆ หรือใช้ใบแห้งบดผสมกับพิมเสน ช่วยรักษาแผลในปากและลดไข้ได้

ประยงค์

ประยงค์
ชื่อท้องถิ่น ขะยง , ขะยม , พะยงค์ , ยม , (ภาคเหนือ ) ประยงค์ , ประยงค์ใบใหญ่ , หอมไกล (ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ aglaia odorata lour . ชื่อวงศ์ meliaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๒- ๓ เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีเทา จะแตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ รูปใบรี ปลายใบมน โคนใบแหลม เส้นใบแตกออกจากเส้นกลางใบ มีแขนงสานกันเป็นร่างแห หลังใบเรียบมัน ท้องใบเรียบ สีอ่อนกว่า แผ่นใบแผ่ ออกดอกเป็นช่อ ออกตามบริเวณง่ามใบ สีเหลือง กลีบดอกมี ๖ กลีบ ซ้อนกันไม่บาน จะเป็นรูปกลมขนาดเล็ก ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ดอก ใบ , ก้าน วิธีใช้ แก้ไข้ บำรุงร่างกาย และโรคเกี่ยวกับทรวงอก โดยใช้รากสดประมาณ ๑๐ – ๑๕ กรัม นำมาล้างให้สะอาดต้มในน้ำ ๑ ลิตร ประมาณ ๑๐ นาที แล้วกรองเอาน้ำดื่มวันละ ๒ เวลา เช้า – เย็น หรืออาจจะใช้ดอกที่ตากแดดให้แห้ง ๑ – ๒ กรัม นำมาชงเป็นชาดื่มเป็นยาเย็นก็ได้

เนียมหูเสือ

เนียมหูเสือ
ชื่อท้องถิ่น หอมด่วนหลวง , หอมด่วนหูเสือ (ภาคเหนือ ) เนียมหูเสือ (ภาคกลาง ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ plectranthus amboinicus (lour. ) spreng. ชื่อวงศ์ labiatae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ค่อนข้างอวบน้ำ สูงประมาณ ๐.๓ – ๑.๐ เมตร ลำต้นและกิ่งค่อนข้างกลมมีสีแดงและเขียว ต้นอ่อนมีขนหนาแน่น ต้นแก่ขนจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปไข่กว้างค่อนข้างกลม หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ปลายใบกลมมนหรือแหลม โคนใบกลมหรือตัด เนื้อใบหนา ใบมีกลิ่น ก้านใบยาว มีขน ออกดอกเป็นช่อ ดอกติดหนาแน่นเป็นวง ๆ รอบแกนกลาง เป็นระยะๆ มีขน ใบประดับรูปไข่กว้าง ปลายแหลม ก้านสั้น ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ วิธีใช้ แก้ไข้ แก้ไอ รักษาโรคหวัด โดยใช้ใบสด ๑๐ – ๑๕ กรัม ต้มในน้ำ ๕๐๐ ซีซี เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง แล้วกรองเอาน้ำดื่ม เช้า – เย็น หรือ ใช้ใบสดล้างให้สะอาด รับประทานเป็นผักกับอาหารครั้งละ ๓ – ๕ ใบ