วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สารภี

สารภี
ชื่อท้องถิ่น สารภีแนน (เชียงใหม่) ทรพี (ชลบุรี) สารภี (ทั่วไป ) สร้อยพี (ภาคใต้ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ mamnea siamensis kosterm. ชื่อวงศ์ guttiferae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ ๑๐-๑๕ เมตร เปลือกลำต้นสีเทาอมน้ำตาล มีรอยแตกเป็นสะเก็ด แตกกิ่งจำนวนมาก กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม เรือนยอดรูปไข่ หนาทึบ ออกดอกเป็นช่อหรือเป็นกระจุก ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก ผลสุก วิธีใช้ บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน โดยใช้ดอกสารภีแห้ง ซึ่งจัดอยู่ในตำรายาไทยประเภท เกสรทั้ง ๕ นำมาปรุงยาเป็นยาหอมใช้สูดดม หรือใช้ดอกแห้ง ๓-๔ ดอก ชงเป็นชาดื่ม หรืออาจจะรับประทานผลสุกก็ได้

รำเพย

รำเพย
ชื่อท้องถิ่น แซน่าวา , แซะศาลา (ภาคเหนือ ) รำพน , รำเพย (ภาคกลาง ) กะทอก , บานบุรี , ยี่โถฝรั่ง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ thevetia peruviana (pers ) k. schum. ชื่อวงศ์ apccynaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๒-๓ เมตร ไม่ผลัดใบ บางครั้งมีลักษณะเป็นพุ่ม เรือนยอดทรงกลม โปร่ง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาวเป็นพิษ ส่วนที่ใช้เป็นยา ยาง เมล็ด วิธีใช้ บำรุงหัวใจ ในเมล็ดมีสารกระตุ้นหัวใจ thevetin ใช้เมล็ดจากผลสุกสกัด glucoside thevetin ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ทางปาก และยาฉีด เมล็ดบด ใช้เป็นยาฆ่าแมลง

มะลิลา

มะลิลา
ชื่อท้องถิ่น ข้าวแตก , เตียมูน ,มะลิขี้ไก่ , มะลิป้อม (ภาคเหนือ ) มะลิลา , มะลิซ้อน (ทั่วไป ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ jasminum sambac (L) aiton ชื่อวงศ์ oleaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถา กึ่งเลื้อย แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้น ลักษณะทรงพุ่ม สูงประมาณ ๕ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ไปตามก้านลำต้น ลักษณะใบรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ลักษณะของดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกไม่ซ้อน ดอกซ้อนเรียกว่า “มะลิซ้อน” และดอกไม่ซ้อนเรียกว่า “มะลิลา” ดอกมีสีขาว กลิ่นหอมแรง ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เถา ใบสด ดอก วิธีใช้ บำรุงหัวใจ แก้วิงเวียน โดยใช้ดอกที่ตากแดดให้สนิทปรุงเป็นยาหอม ซึ่งเป็น ๑ ในเกสรทั้ง ๕ ใช้สูดดม หรือใช้ดอกแห้ง ๓-๕ ดอก ชงเป็นน้ำชาดื่ม ๑-๒ เวลา

บัวหลวง

บัวหลวง
ชื่อท้องถิ่น บัว , บัวหลวง (ทั่วไป ) สัตตบงกช , สัตตบุษย์ อุบล ( ภาคกลาง ) โช้ค (เขมร , บุรีรัมย์ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ nelumbo nucifera gaertn . ชื่อวงศ์ nelumbonaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแผ่นใบชูเหนือน้ำ ลักษณะใบรูปเกือบกลม โคนเว้าตื้น ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านกลมแข็ง มีตุ่มเล็กๆอยู่ทั่วไป ภายในมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะเห็นเป็นสายใย ออกดอกเดี่ยวชูเหนือน้ำ ดอกมีสีขาว ชมพู กลิ่นหอม ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เหง้าหัว ฝักบัว เมล็ด ดีบัวหรือต้น อ่อนในเมล็ด ใบ วิธีใช้ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง โดยใช้ดอกและเกสรนำไปตากแดดให้แห้ง ประมาณ ๕-๑๐ กรัม นำไปชงเป็นน้ำชาดื่ม หรือนำไปปรุงเป็นยาหอมใช้สูดดมก็ได้ ช่วยให้เจริญอาหารโดยใช้เมล็ดสด รับประทานเป็นอาหาร

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญ
ชื่อท้องถิ่น กุหลาบออน (เงี้ยว , แม่ฮ่องสอน) กุหลาบมอญ ( ภาคกลาง ) ยี่สุ่น (กรุงเทพฯ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ rosa damascene mill ชื่อวงศ์ rosaceae ลักษณะทั่วไป ทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑-๒เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม ออกดอกสีชมพูอ่อน ชมพูเข้มหรือสีแดง กลิ่นหอมแรง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย กลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น รูปเกือบกลม เกสรตัวผู้และตัวเมียมีจำนวนมาก ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก วิธีใช้ ยาบำรุงหัวใจ บรรเทาอาการอ่อนเพลีย คลายเครียด โดยใช้น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากดอกใช้สูดดม หรือ ใช้น้ำมันกุหลาบ ๑-๒ หยด ผสมในน้ำร้อนแช่อาบ จะทำให้นอนหลับสบายดี

กระดังงาไทย

กระดังงาไทย
ชื่อท้องถิ่น สะบันงา , สะบันงาต้น (ภาคเหนือ ) กระดังงาไทย , กระดังงาใบใหญ่ (ภาคกลาง ) กระดังงา (ตรัง , ยะลา ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ cananga odorata (iam) hook.f. & thomson var . Odorata ชื่อวงศ์ annonaceae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๐-๒๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวยค่อนข้างโปร่ง เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยงหรือสีน้ำเงิน กิ่งก้านมักตั้งฉากกับลำต้น ปลายย้อยลู่ลง กิ่งอ่อนมีขน กิ่งแก่ค่อนข้างเรียบ ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก วิธีใช้ ยาหอมบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน โดยการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกซึ่งจะมีสารบำรุงหัวใจ(cadiotonic) บำรุงโลหิต และบำรุงธาตุ นำมาทาและสูดดมให้ความชุ่มชื่นและสดใส

แมงลัก

แมงลัก
ชื่อท้องถิ่น ก้อมก้อข้าว (ภาคเหนือ ) แมงลัก , มังลัก (ภาคกลาง ) อีตู่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ocimum americanum l . Ocimum canum sims ชื่อวงศ์ labiatae ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ ๓๐ – ๑๒๐ ซม. โคนลำต้นแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก สีออกขาวเล็กน้อย กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม และตามข้อมีขนสีขาวปกคลุม ออกดอกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ออกช่อบริเวณยอดหรือปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาวและมีขนสีขาว เมื่อกลีบดอกร่วงก็จะเป็นผล ผลมีขนาดเล็กเปลือกแข็งเมล็ดเดียว ส่วนที่ใช้เป็นยา ลำต้น ใบ เมล็ด วิธีใช้ เป็นยาระบาย โดยใช้เมล็ดแมงลัก ๑ – ๒ ช้อนชา ล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำอุ่น ๑ แก้ว หรือประมาณ ๒๕๐ มิลลิลิตร จนพองตัวเต็มที่รับประทานก่อนนอน ซึ่งเมล็ดแมงลักจะทำให้มีจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้น เพิ่มปริมาณอุจจาระ และทำให้อุจจาระอ่อนตัวกว่าปกติ ถ้าเมล็ดแมงลักพองตัวไม่เต็มที่ จะทำให้ท้องอืด และอุจจาระแข็ง